วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประวัติดอกบัว

ประวัติดอกบัวตอง
เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอน สิ่งแรกที่ผุดขึ้นในมโนภาพของหลายๆคนก็คงจะเป็นความงดงาม ดอกบัวตองสีเหลืองอร่าม ที่พร้อมใจกันผลิบานต้อนรับฤดูหนาว ห่มคลุมดอยแม่อูคอที่อำเภอขุนยวม และดอยแม่เหาะที่อำเภอแม่สะเรียงทุกวันนี้ดูเหมือนดอกบัวตองได้กลายเป็น สัญลักษณ์ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ไปแล้ว
แต่หลายคนคงประหลาดใจเมื่อได้ทราบว่าแท้จริงแล้วดอกบัวตอง หาใช่พืชท้องถิ่นของแม่ฮ่องสอนไม่ หากมีแหล่งกำเนิดอยู่ในแถบทวีปอเมริกากลางและหมู่เกาะอินเดียตะวันตกโน่น ชื่อที่เป็นทางการของบัวตองก็คือ Mexican Sunflower บัวตองจัดเป็นวัชพืชวงศ์เดียวกับทานตะวัน ดาวเรือง และต้นสาบเสือด้วยรูปลักษณ์ ที่คล้ายคลึงกับดอกทานตะวันบางครั้งมันจึงถูกเรียกว่า ทานตะวันป่าหรือทานตะวันดอยแต่หากพิจารณาดูอย่าง ใกล้ชิดจะพบว่ากระเปาะตรงกลางของดอกทานตะวันนั้นมีขนาดใหญ่
ส่วนกลีบดอกที่ล้อมรอบนั้นมีขนาดสั้น ดอกบัวตองมีกระเปาะตรงกลางขนาดเล็ก แต่มีกลีบดอกที่ยาวกว่ากล่าวกันว่าผู้ที่นำเมล็ดพันธุ์บัวตองข้ามน้ำข้าม ทะเล มาแพร่พันธุ์คือ มิชชันนารีที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนา
คริสต์ในดินแดนแถบนี้ แม้จะไม่มีหลักฐานว่ามิชชันนารีผู้นั้นเป็นใคร แต่พอจะอนุมานได้ว่า ดอกบัวตองคงจะเข้ามาแพร่กระจายในดินแดนแถบนี้เมื่อไม่เกิน 70 ปี มานี้เอง เพราะก่อนหน้านี้พื้นที่ ี่ในบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปกคลุมไปด้วยป่าไม้หนาทึบจวบจนกระทั่งบริษัทบอมเบย์ เบอร์ม่า ที่ได้รับสัมปทานป่าในบริเวณ นี้ตัดไม้สักออกขายนั่นแหละ ป่าที่เคยหนาทึบ จึงกลับกลายเป็นที่โล่ง เปิดทางให้บัวตอง ซึ่งขยายพันธุ์ได้รวดเร็วในภูมิประเทศที่เป็นทุ่งโล่งเข้าเบ่งบานครอบครอง พื้นที่จนกลายเป็น เจ้าถิ่นไปในที่สุดดังในปัจจุบัน
ที่มา http//www.google.com

ประวัติดอกมะลิ

ประวัติดอกมะลิ

Mar 3, '08 8:15 AMfor everyone
ประวัติของดอกมะลิ


สมัยก่อนนั้นไม่มีการกำหนดวันแม่ให้แน่
ชัดเนื่องจากเกิดเหตุการณ์หลายอย่าง การจัดวันแม่ขึ้น
เป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2486ณ สวนอัมพร
แต่เนื่องจากช่วงนั้น เป็นช่วงสงครามโลก ปีต่อมาจึงงดหลายฝ่ายพยายาม
รื้อฟื้นวันแม่ขึ้นมา แต่ไม่ประสบความสำเร็จและได้วันที่เป็นที่รับรองของรัฐบาล
คือวันที่ 15 เมษายน เริ่มขึ้นในปี 2493จัดในวันนี้ไปอีกหลายปีแต่ต้องหยุดชะงัก
ลงเพราะกระทรวงวัฒนธรรมโดนยุบ ต่อมาได้กำหนดจัดวันแม่วันที่ 4 ตุลาคม เริ่มในปี 2515
แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป จนกระทั่งในปี 2519 คณะกรรมการอำนวยการ สภาสังคมสงเคราะห์
แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที จึงได้กำหนดวันแม่ใหม่
โดยให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่
แห่งชาติ และ กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ตั้งแต่นั้นมาเหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้

สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้ง
ยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับ ความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย…

ที่มา http//www.google.com
Prev: ประวัติของดอกกุหลาบNext: ชวนชม

ประวัติดอกทิวลิป

ลักษณะดอกทิวลิป

ทิวลิปเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว รูปใบเล็กเรียวยาว ปลายใบแหลม เส้นแขนงใบจะเป็นแนวขนานไปตามความยาวของใบ และเรียวลู่ไปรวมกันที่บริเวณปลายใบ ใบแต่ละใบจะออกสลับทิศทางตรงข้ามกัน ต้นหนึ่งๆ จะออกใบประมาณ 3-4 ใบ โดยปรกติทิวลิปจะมีขนาดสูงระหว่าง 12-18 นิ้ว ซึ่งก็ต้องแล้วแต่พันธุ์และชนิดของทิวลิปแต่ละอย่าง ดอกของทิวลิปก็เช่นเดียวกัน มีหลายแบบ หลายสี และหลายขนาด แต่โดยปรกติดอกทิวลิปจะเป็นดอกไม้รูปถ้วย ยามบานไม่บานแฉ่ง แต่จะบานเพียงแค่แย้ม
กลีบออก ให้รู้ว่าเป็นดอกทิวลิปที่บานแล้ว แต่อย่างบายแฉ่งก็มีบ้าง เหมือนกัน เช่น พวกดอกทิวลิปซ้อนหลายๆ ชั้น ปรกติดอกทิวลิปจะมีกลีบดอกซ้อนกันเพียง 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ กลีบดอกของทิวลิปมีสีสันต่างๆ มากมายหลายเฉดสี นับตั้งแต่สีแสด แดง ส้ม เหลืองเข้ม เหลือง เหลืองอ่อน ชมพู ขาว และสีสลับลายหลายอย่าง มีทั้งสีเดียวล้วนๆ และสีผสมในดอกเดียว หรือที่เรียกว่า ”Broken Tulips” เกสรผู้เป็นสีเหลืองอ่อน หรือขาวเป็นแท่งรูปหัวศรมี 6 เส้น เกสรเมียมีขนาดโตกว่าเกสรผู้ อยู่กึ่งกลางเกสรผู้ เป็นลักษณะแท่งรูปสามเหลี่ยมยาว 2 - 2.5 เซนติเมตร
( ซึ่งมีขนาดยาวไล่เลี่ยกับเกสรผู้ ) ปลายเกสรเมียแต่ละเหลี่ยม งอลงเป็นสามแฉก ส่วนที่ปลายเกสรผู้บางพันธุ์อาจจะเป็นติ่งสีน้ำตาลเข้ม หรือสีดำก็มี

ที่มา http//www.google.com

ประวัติดอกทานตะวัน

ประวัติดอกทานตะวัน
ประวัติโดยย่อของดอกทานตะวัน ถือกำเนิดโดยการนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น นำมาปลูกที่คลองตะเคียน พระนครศรีอยุธยาในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ช่วงประมาณปี พ.ศ. ๒๑๙๙ ตั้งแต่สมัยอยุธยานานมากมาแล้วต่อมาต้นทานตะวันได้มีการปลูกแพร่หลายเป็นไม้ประดับที่นิยมในประเทศไทย
ทานตะวัน แปลว่า การทาน กั้น ขวางตะวัน หรือ ต่อต้านกั้นตะวัน หากเราสังเกตดูให้ดีจะเห็นว่าดอกทานตะวันจะหันดอกเข้าหาตะวัน (พระอาทิตย์) เสมอ จนบางคนถึงกับกล่าวว่า น่าที่จะเรียกว่า “ดอกตามตะวัน” จะเหมาะกว่า
แต่ในอีกความหมายก็ว่า “ทานตะวัน” คือเป็นเหมือนกับการทนทานกับแสงแดด หรือแสงอาทิตย์ เพราะมันหันหน้าเข้าหาอยู่ตลอดเวลา จึงน่าจะแปลได้ความหมายเป็นอย่างหลังมากกว่า อีกนัยหนึ่งคือ “ไม่ถึงตะวัน” ถึงจะมีความทนทานต่อแสงอันร้อนแรงของพระอาทิตย์ แต่ก็ไม่สามารถไปถึงตะวันได้ ในเรื่องของเทวปกรฌัม ยังได้กล่าวถึงเทพธิดาองค์หนึ่งชื่อไคลที (Clytie) อาศัยอยู่ถ้ำใต้ทะเลลึก มีแต่ทราย หอยและเปลือกหอย โดยอาศัยนอนอยู่ในเปลือกหอยก้นทะเลไม่เคยขึ้นมาบนฝั่ง มีแต่คลื่นสีเขียวอยู่ใต้น้ำทะเล เนื่องจากแสงอาทิตย์ส่องลงไปไม่ถึง นางฟ้าไคลทีเป็นเทพีแห่งน้ำเกิดในน้ำหรืออาจเรียกว่าพรายน้ำก็ว่าได้ อยู่อาศัยอย่างเป็นสุขสงบเรื่อยมาจนเติบโตขึ้นเป็นสาวน้อยอยู่มาจนกระทั่งวันหนึ่งเกิดมีพายุพัดกระหน่ำเข้ามาอย่างรุนแรง ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยพัดลงไปถึงข้างล่างใต้ทะเลเลย พัดอยู่เพียงพื้นผิวน้ำชั้นบนเท่านั้น แต่คราวนี้ได้เกิดพายุพัดกระหน่ำเป็นคลื่นม้วนตัวลงไปข้างใต้น้ำ แล้วพัดพาเอาสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ข้างใต้นั้นขึ้นมาอยู่ข้างบนแทน ซึ่งไคลทีก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้นที่ต้องขึ้นมาอยู่บนโลกมนุษย์ เมื่อถูกคลื่นทะเลซัดขึ้นมาถึงฝั่งฟื้นคืนสติก็มองเห็นแสงแดด มองเห็นพืชพันธุ์ต้นไม้ต่าง ๆ ที่สวยงาม และที่สวยที่สุดก็คือแสงแห่งตะวันที่สาดส่องลงมาตรงบริเวณเกาะหรือตรงพื้นแผ่นดินนั้น ส่องไปทุก ๆ ที่ที่ไคลทีมอง ไคลทีเพิ่งได้มีโอกาสเห็นแสงอาทิตย์เป็นครั้งแรก ก็เกิดความรักในพระอาทิตย์ขึ้นมา คือรักเทพอพอลโล (Apollo) เพราะเห็นความงามของอพอลโล(Apollo) นางจึงปฏิญาณว่าจะไม่ลงไปสู่ใต้ทะเลอีก จะขออยู่บนเกาะตลอดไปเพื่อติดตามดูตะวันทุก ๆ วัน จะขออยู่ดูความงามแห่งพระอาทิตย์ ดูความงดงามแห่งเทพอพอลโล (Apollo) ตั้งแต่รุ่งอรุณจนยามเย็น จะหันตามดูตลอดเวลา จนกระทั่งเทวดาสงสารนางเพราะเทพอพอลโล (Apollo)ไม่เคยเหลียวแลเลยจึงได้ช่วยกันบันดาลให้ในเย็นวันหนึ่งในขณะที่ไคลทียืนมองตะวันอยู่ที่บนฝั่งทะเลให้เท้านั้นหยั่งลึกลงไปในดินเครื่องแต่งกายให้เปลี่ยนแปลง กลายเป็นสีเขียวผมจากสีทองให้กลายเป็นสีเหลืองล้อมดวงหน้าไว้แล้วให้ดวงตาที่คอยมองตามพระอาทิตย์นั้นเป็นสีน้ำตาลจึงกลายเป็นดอกทานตะวันที่สวยงามที่เฝ้ามองตามพระอาทิตย์ที่ขึ้นและลงข้ามขอบฟ้าในทุกวันๆดอกทานตะวันจึงมีรูปลักษณ์อย่างที่เราเห็นเป็นดอกไม้แสนงามในปัจจุบันนี้เอง
Home

ประวัติดอกลีลาวดี

ดอกลีลาวดี
วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ประวัติดอกลีลาวดี

ชื่อวิทยาศาสตร์Plumeria spp
.ตระกูลApocynaceaeชื่อสามัญFrangipani,Pagoda,Temple
ถิ่นกำเนิดเม็กซิโกใต้ถึงตอนเหนือทวีปอเมริกาใต้ลักษณะทั่วไปลีลาวดี เป็นไม้ยืนต้น มีขนาดจากที่เป็นพุ่มเตี้ยแคระสูงประมาณ0.6 เมตร จนถึงต้นใหญ่มากอาจที่สูงได้ถึง 12 เมตร ลำต้นแผ่กิ่งก้านสาขาและพุ่มใบสวยงาม
มีน้ำยางขนสีขาวเป็นพันธุ์ไม้ที่สลัดใบในฤดูแล้งก่อนที่จะผลิดอกผลิใบรุ่นใหม่ชนิดและพันธุ์ที่มีลักษณะดี ต้องมีทรงพุ่มแน่น มีกิ่งก้านสาขามาก ใบดกที่ปลายกิ่ง มีช่อดอกใหญ่ กิ่งที่ยังไม่แก่มีสีเขียวออ่นนุ่ม กิ่งที่แก่มีสีเทามีรอยตะปุ่มตะป่ำ ใบ เป็นใบเดี่ยวมีการเรียงตัวสลับกันและหนาแน่นใกล้ๆปลายกิ่ง มีตั้งแต่สีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม มีเส้นกลางใบแตกสาขาออกไปคล้ายขนนก ขนาดใบแตกต่างกันตั้งแต่ 5-20 นิ้ว ช่อดอก จะถูกผลิตออกมาจากปลายยอดเหนือใบแต่กก็มีบางชนิดที่ออกช่อดอกระหว่างใบหรือออกดอกใต้ใบ ช่อดอกบางชนิดตั้งขึ้น บางชนิดห้อยลง ใน 1 ช่อดอกจะมีดอกบานพร้อมกัน 20-30 ดอก
บางต้นสมบูรณ์เต็มที่อาจมีดอกมากกว่า 100 ดอก ต่อ 1 ช่อ ดอกโดยทั่วไป กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย อยู่ลึกเข้าไปข้างใน ดอกของ ลีลาวดีมีสีสรรหลากหลาย ทั้ง ขาว แดง เหลือง ชมพู ส้ม ม่วง สีทอง มีกลิ่นหอมต่างๆกันไปในแต่ละชนิด ดอกมีขนาด 2 - 6 นิ้ว มีกลิ่นหอม ผล เป็นฝักคู่ รูปยาวรี กว้างประมาณ 1.5 - 15 ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 2ซีก เมล็ดมีจำนวนมาก เมล็ดแบนมีปีก ลีลาวดีมีช่วงชีวิตที่ยาวนานนับ 100 ปีฤดูกาลออกดอกออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธุ์-เมษายน บางพันธุ์ออกดอกตลอดปี เช่น ขาวพวงสภาพการปลูกลีลาวดี เป็นไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดด ทนต่อความแห้งแล้ง ไม่ชอบน้ำมาก ดินที่เหมาะสมในการปลูกลีลาวดี ควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินเหนียวหรือดินที่มีเนื้อดินละเอียดหนักซึ่งน้ำขังง่าย จะทำให้รากเน่า โคนเน่าได้ ลีลาวดีจะเจริญเติบโตในที่ที่มีแสงแดดส่องถึงหากไม่ได้รับแสงแดดเต็มที ก็จะไม่ออกดอก แต่บางพันธุ์ก็ไม่ต้องการแสงแดดจัดในช่วงบ่ายการขยายพันธุ์ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด,การปักชำกิ่งการขยายพันธุ์แบบนี้จะไม่มีรากแก้ว,การเสียบยอดพันธุ์ดีสามารถทำให้ในหนึ่งต้น เสียบยอดให้ได้ดอกหลายสีได้ ,และการขยายพันธุ์โดยการติดตาการปลูกและดูแลรักษาการปลูกในกระถางลีลาวดีจะตอบสนองต่อวัสดุปลูกที่มีความอุดมสมบูรณ์
ระบายน้ำได้ดี มีอินทรีวัตถุและได้รับปุ๋ยเสริมตามความเหมาะสม สัดส่วนที่ปลูกนกระถางโดยทั่วไป 50% มูลวัวที่ย่อยสลายดีแล้ว 25% ใบไม้ผุ 25% ดิน การให้น้ำ ใส่น้ำให้ดินในกระถางให้เปียกทั่วถึง จนน้ำส่วนเกินระบายออกทางรูระบายน้ำ แล้วปล่อยให้วัสดุปลูกแห้งก่อนให้น้ำครั้งต่อไปซึ่งอาจจะเป็นอาทิตย์ละ2ครั้ง หรือถ้าช่วงแล้งจัดๆ อาจเป็นวันเว้นวัน อย่างไรก็ตาม ควรตรวจสอบความชื้นวัสดุปลูกอย่างสม่ำเสมอ แต่วัสดุปลูกที่มีขนาดเล็กละเอียด เมื่อถึงระยะหนึ่งจะอัดตัวแน่นและรากจะไม่สามารถเจริญผ่านจุดนี้ไปได้น้ำก็จะขังไม่สามารถระบายน้ำได้ในที่สุดจะทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าได้การปลูกลงดินในแปลงปลูกดินควรเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินเหนียวหรือดินที่มีเนื้อดินละเอียดหนักซึ่งน้ำขังง่ายไม่เหมาะที่จะใช้ในการปลูก ดินควรมีมาณอินทรียวัตถุที่เหมาะสม สามารถดูดยึดความชื้นได้ดี ในขณะเดียวกันต้องมีการระบายน้ำได้ดี การให้น้ำ ในการปลูกลงดินให้น้ำแต่นอ้ยให้ปริมาณสัปดาห์ละครั้ง ขึ้นอยูรกับสภาพความชื้นอากาศด้วย ถ้าอากาศร้อนแห้งแล้ง ก็ต้องให้น้ำบ่อยกว่าปกติเพื่อรักษาความเขียวของใบ แต่ให้น้ำมากเกินไปก็จะมีการเจริญเติบโตทางกิ่งก้านมากและทำให้ไม่ออกดอกการให้ปุ๋ยลีลาววดีจะเจริญเติบโตงอกงามได้ดีที่สุดในปุ๋ยทีมีไนโตรเจนต่ำ ฟอสฟอรัสสูง และโพแทสเซียม ในปริมาณที่เพียงพอ เนื่องจากธาตุฟอสฟอรัสจะกระตุ้นการออกดอก โดยทั่วไปลีลาวดีจะแตกกิ่งกานเมื่อมีดอก ดังนั้นต้องให้ปุ๋ยที่ส่งเสริมการออกดอกซึ้งเมื่อออกดอกมากก็หมายถึงจะมีกิ่งก้านสาขามากตามมา ส่วนธาตุไนโตรเจนจะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของลำต้น กิ่งก้าน ใบ แต่ถ้าได้รับมากเกินไป
จะทำให้มีใบมากเกินไป และไม่มีดอก นอกจากนั้นยังต้องได้รับธาตุอาหารรองได้แก่ แคลเซี่ยมและกำมะถัน โดยเฉพาะธาตุแมกนีเซียม เพื่อป้องกันโรคใบไหม้รวมทั้งธาตุอาหารจุลธาตุที่เพียงพอ ได้แก่ ธาตุเหล็ก อลูมิเนียมทองแดง แมงกานีส โมลิบดินัม โบรอน และคลอไรด์ โดยเฉพาะธาตุเหล็ก ซึ่งช่วยป้องกันอาการใบซีด
เขียนโดย ลีลาวดี ที่ 21:23

ที่มาhttp//www.google.com
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
บทความใหม่กว่า หน้าแรก
สมัครสมาชิก: ส่งความคิดเห็น (Atom)

ดอกกล้วยไม้แคทลยา

สกุลแคทลยา (cattleya)
เป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ชื่อกล้วยไม้สกุลแคทลียาได้มาจากชื่อสกุลของนักพฤกษศาสตร์ชื่อ william cattley แคทลียาเป็นกล้วยไม้ที่ชอบขึ้นอยู่ในที่ชุ่มชื้น ร่มเย็น มีแสงแดดบ้างเล็กน้อยหรือที่เรียกว่าแสงแดดรำไร แต่ไม่ทนต่อความแห้งแล้ง ร้อนและแสงแดดจัด แคทลียาเป็นกล้วยไม้ประเภทแตกกอ มีระบบรากเป็นแบบรากกึ่งอากาศ บางชนิดลำลูกกล้วยอ้วนป้อม หัวท้ายเรียว บางชนิดเป็นรูปทรงกระบอกหรืบิดเป็นเกลียวเล็กน้อย ใบส่วนมากจะมีลักษณะแบน แต่มีบางชนิดใบกลมรูปทรงกระกอก ใบที่เจริญเต็มที่จะมีลักษณะหนาและแข็ง ใบอาจมีหรือไม่มีกาบ เหง้าอาจจะมีทั้งสั้นและยาว รากของแคทลียาไม่มีรากแขนง ดอกเกิดที่ปลายลำลูกกล้วย ก่อนจะออกดอกมักจะปรากฎซองของดอกก่อน แต่แคทลียาบางชนิดไม่มีซองดอก

ดอกแคทลียามีทั้งที่เป็นดอกเดี่ยวและออกดอกเป็นช่อ ในช่อหนึ่ง ๆ อาจจะมีดอกเพียงดอกเดียวหรือสองดอก สามดอกหรือบางชนิดอาจจะมีถึงสิบดอกก็ได้ กลีบดอกชั้นนอกมี 3 กลีบ อยู่ข้างบน 1 กลีบ ข้างล่าง 2 กลีบ ขนาดเท่า ๆ กัน กลีบดอกชั้นนอก มี 3 กลีบ กลีบใน 2 กลีบ กลีบบนมีรูปร่างเหมือนกัน
แก้ไขล่าสุดเมื่อ


( Sunday, 24 August 2008 )
Free Joomla! hosting powered by FreeJoomlas.com

Joomla Template by Joomlashack

ประวัติดอกกล้วยไม้

ประวัติดอกกล้วยไม้
กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้ายไม้ เลี้ยงต้นกล้ายไม้จนกระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเอง
แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็นอาณาบริเวณ อเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกาใต้ ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทย มีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของกล้วยไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างจากกล้วยไม้ในภูมิภาคลาตินอเมริกา การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในประเทศไทย จากการสำรวจในอดีตพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกล้วยไม้อยู่ในป่าธรรมขาติไม่ต่ำกว่า 1,000 ชนิด ทั้งประเภทที่พบอยู่บนต้นไม้ บนพื้นผิวของภูเขาและบนพื้นดิน
สรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทยเอื้ออำนวย แก่การเจริญงอกงามของกล้วยไม้เป็นอย่างมาก ในอดีตชาวชนบทของไทย โดยเฉพาะในแหล่งที่เคยมีกล้วยไม้ป่าอุดมสมบูรณ์ ได้นำกล้ายไม้ป่ามาปลูกเลี้ยงโดยเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำกล้วยไม้มาปลูกไว้กับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ไกล้ๆ บ้านเรือน การเลี้ยงกล้วยไม้เริ่มเปลี่ยนมาเป็นการปลูกเลี้ยง

อย่างจริงจังโดยชาวตะวันตกผู้หนึ่ง ที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย เห็นว่าสภาพแวดล้อมของประเทศไทยเหมาะสมสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ จึงได้สร้างเรือนกล้วยไม้อย่างง่ายๆ และนำเอากล้วยไม้ป่าจากเขตร้อนของอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าแหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากกล้วยไม้ในเอเชียและเอเซียแปซิฟิค โดยนำมาปลูกเลี้ยงเป็นงานอดิเรกในขณะเดียวกันก็มีเจ้านายชั้นสูงและบรรดา ข้าราชการที่ใกล้ชิด ให้ความสนใจเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกเช่นกัน นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มบุคคลสูงอายุซึ่งเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อความสุขทางใจ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ อย่างไรก็ตามการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบ คือ ในกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้มีเงินในยุคนั้น และเป็นการปลูกเลี้ยงที่นิยมกล้วยไม้พันธุ์ต่างประเทศ ส่วนกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในป่าของประเทศไทยจะนิยมและยกย่องเฉพาะพันธุ์ที่หายากและมีราคาแพง หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในปี 2475
สภาพการเลี้ยง ก็ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบเช่นเดิม แต่ผลงานเกี่ยวกับการผสมพันธุ์กล้วยไม้ในต่างประเทศเริ่มมีอิทธิพลกระตุ้นให้ผู้เกี่ยวข้องกับวงการกล้วยไม้ในประเทศไทยสนใจกล้วยไม้ลูกผสมมากขึ้น มีการสั่งกล้วยไม้ลูกผสมจากประเทศในทวีปยุโรป สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เพื่อนำเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทย การพัฒนาการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เป็นไปอย่างจริงจัง เมื่อประมาณปี 2493 โดยได้มีการวิจัย นับตั้งแต่การรวบรวมปลูกในระดับพื้นฐาน ต่อมาในปี 2497 ได้เริ่มเปิดการฝึกอบรมการเลี้ยงกล้วยไม้ ให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และมีการจัดตั้งชมรมกล้วยไม้ขึ้นในปี 2498 ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมาคมกล้วยไม้เมื่อปี 2500 และในปีเดียวกันนี้ ได้เริ่มมีการนำเอาความรู้ในเรื่องกล้วยไม้และแนวความคิดในการพัฒนาวงการกล้วยไม้ออก เผยแพร่ทั้งทางโทรทัศน์และวิทยุ และมีการผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่
ทำให้วงการกล้วยไม้ของประเทศไทย ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งมีการจัดตั้งสมาคมและสโมสรเกี่ยวกับกล้วยไม้ขึ้นในภาคและจังหวัดต่างๆ ในปี 2501 ได้มีการเปิดการสอนวิชากล้วยไม้ขึ้นในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นครั้งแรก เพื่อผลิตนักวิชาการและพัฒนางานวิจัยกล้วยไม้ของประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไม่ได้จำกัดอยู่ภายในวงแคบอีกต่อไป จากการส่งเสริมดังกล่าว ทำให้มีการนำเข้ากล้วยไม้ลูกผสมจากต่างประเทศ เช่น จากฮาวายและสิงคโปร์จำนวนมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ที่มีความรู้หันมารวบรวมพันธุ์ผสมและเพาะพันธุ์จากพ่อแม่พันธุ์ในประเทศ ทั้งที่เป็นพ่อแม่พันธุ์จากป่า และลูกผสมที่สั่งเข้ามาแล้วในอดีต ปี 2506 วงการกล้วยไม้ของไทยได้เริ่มมีแผนในการขยายข่ายงานออกไปประสานกับวงการกล้วยไม้สากล เพื่อยกระดับวงการกล้วยไม้ในประเทศให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ ปี 2509 เริ่มการทำสวนกล้วยไม้ตัดดอกอย่างจริงจัง เมื่อไทยเริ่มส่งออกกล้วยไม้ไปสู่ ตลาดต่างประเทศในยุโรปตะวันตก เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี ต่อมาจึงขยายตลาดไปสู่ประเทศญี่ปุ่น แคนาดา และบางรัฐของสหรัฐอเมริกา
ที่มา http//www.google.com